Hub of Talents
to Support Net Zero GHG Emissions

Researcher Information form

การบูรณาการกระบวนการทางธรรมชาติเพื่อสนับสนุนการปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตร

อุตสาหกรรมเกษตรเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดังนั้นเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในภาคการเกษตรไทยและเพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาด จำเป็นต้องมีการพัฒนาและบูรณาการเทคโนโลยีในหลายด้านเข้าด้วยกันเพื่อเสริมสร้างผลิตภาพการผลิต คุณภาพผลผลิต และนวัตกรรม ในขณะเดียวกันยังให้ความสำคัญและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้ตั้งเป้าที่จะนำกระบวนการทางธรรมชาติ (Nature-based Solution หรือ NbS) มาบูรณาการและประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรเพื่อสนับสนุนการปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  โดยประกอบด้วยแผนงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  (Climate Adaptation) และการลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Mitigation)

ในด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น โครงการตั้งเป้าที่จะพัฒนาต้นแบบการเพิ่มปริมาณการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศผ่านการทำงานร่วมกันของพืช จุลินทรีย์ในดิน และเชื้อบาซิลัส โดยเลือกถั่วเขียวเป็นพืชต้นแบบ เนื่องจากถั่วเขียวสามารถปรับปรุงคุณภาพของดินด้วยกระบวนการตรึงไนโตรเจน และถั่วเขียวยังเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญอันจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งงานวิจัยจะมุ่งเน้นการศึกษาการทำงานร่วมกันของของต้นถั่วเขียวและจุลินทรีย์ในการช่วยกันปรับปรุงคุณภาพของดิน พลวัตของจุลินทรีย์ในดินที่ส่งผลต่อการส่งเสริมให้เกิดอ่างเก็บกักคาร์บอน (Carbon Sink) ตามธรรมชาติ  ตลอดจนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อจุลินทรีย์ในดินและประสิทธิภาพการฟื้นฟูทางชีวภาพ

สำหรับงานวิจัยด้านการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมุ่งเน้นการบูรณาการเทคโนโลยีพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร (Agri-PV) และเทคโนโลยีคาร์บอนไดออกไซด์นาโนบับเบิ้ล (CO2-Nanobubble) ร่วมกับการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็ก อุตสาหกรรมสาหร่ายขนาดเล็กเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจเนื่องจากสาหร่ายขนาดเล็กเป็นโปรตีนและสารและสารชีวเคมีอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและการเลี้ยงสาหร่ายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนที่มีศักยภาพ  งานวิจัยนี้จะศึกษาการใช้เทคโนโลยีพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ เทคโนโลยีคาร์บอนไดออกไซด์นาโนบับเบิ้ล เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่าย และการใช้งานประโยชน์และจัดการน้ำเสียจากกระบวนการผลิตชีวมวลสาหร่าย เพื่อผลิตมวล Spirulina ให้มีต้นทุนการผลิต คุ้มค่ามีประสิทธิภาพและยั่งยืน

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

Scroll to Top